เมนู

สันนิธิการสิกขาบทที่ 8


ในสิกขาบทที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะทำการสั่งสม]


พระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ภายในแห่งภิกษุชฎิลพันรูป ชื่อว่า
เวฬัฏฐสีสะ.
สองบทว่า อรญฺเญ วิหรติ ได้แก่ อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง อันเป็น
เรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียรใกล้พระเชตวันวิหาร.
บทว่า สุกฺขกูรํ ได้แก่ ข้าวสุกไม่มีแกงและกับ. ได้ยินว่า พระเถระ
นั้นฉันภายในบ้านแล้ว ภายหลังเที่ยวบิณฑบาต นำเอาข้าวสุกเช่นนั้นมา. ก็แล
พระเถระนำเอาข้าวสุกนั้นมาเพราะความเป็นผู้มักน้อย ไม่ใช่เพราะความเป็นผู้
ติดในปัจจัย. ได้ยินว่า พระเถระยับยั้งอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติตลอด 7 วัน
ออกจากสมาบัติแล้ว เอาบิณฑบาตนั้นชุบน้ำฉัน, ย่อมนั่งเข้าสมาบัติต่อจาก
7 วันนั้นไปอีก 7 วัน, ท่านยับยั้งอยู่ตลอด 2 สัปดาห์บ้าง 3 สัปดาห์บ้าง
4 สัปดาห์บ้าง ด้วยประการอย่างนี้ จึงเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. เพราะเหตุนั้น
พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า นาน ๆ ท่านจึงจะเข้าไปยังบ้าน
เพื่อบิณฑบาต.
คำว่า การ การณ์ กิริยา (ทั้ง 3 นี้) โดยอรรถเป็นอันเดียวกัน.
การทำความสะสมมีอยู่แก่ขาทนียะและโภชนียะนั้น; ฉะนั้น จึงชื่อว่าสันนิธิการ.
สันนิธิการนั่นแหละ ชื่อว่า สันนิธิการก. ความว่า สันนิธิกิริยา (ความทำการ
สะสม). คำว่า สันนิธิการกนั้น เป็นชื่อ (แห่งขาทนียโภชนียะ) ที่ภิกษุ
รับประเคนไว้ให้ค้างคืน 1. ด้วยเหตุนั้นแล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบท